เมนู

มีความดำริชอบ ผู้มีความดำริชอบ ย่อมมีวาจาชอบ ผู้มีวาจาชอบ ย่อม
มีการงานชอบ ผู้มีการงานชอบ ย่อมมีการเลี้ยงชีพชอบ ผู้มีการเลี้ยงชีพ
ชอบ ย่อมมีความพยายามชอบ ผู้มีความพยายามชอบ ย่อมมีความระลึก
ชอบ ผู้มีความระลึกชอบ ย่อมมีความตั้งใจชอบ ผู้มีความตั้งใจชอบ
ย่อมมีความรู้ชอบ ผู้มีความรู้ชอบ ย่อมมีความหลุดพ้นชอบ.
อวิชชาวิชชาสูตรที่ 5

อรรถกถาอวิชชาวิชชาสูตรที่ 5


อวิชชาวิชชาสูตรที่ 5

พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
อวิชชา ชื่อว่าเป็นหัวหน้า เพราะอรรถว่า ดำเนินไปก่อน. บทว่า
อนฺวเทว ได้แก่ ติดตามไป.
จบอรรถกถาอวิชชาวิชชาสูตรที่ 5

6. นิชชรวัตถุสูตร


ว่าด้วยเหตุแห่งการเสื่อมไป 10 ประการ


[106] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งการเสื่อมไปมี 10 ประการนี้
10 ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความเห็นชอบ ย่อม
มีความเห็นผิดเสื่อมไป มีอกุศลบาปกรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะความ
เห็นผิดเป็นปัจจัยเสื่อมไป และกุศลธรรมเป็นอันมาก ย่อมถึงความเจริญ
บริบูรณ์ เพราะความเห็นชอบเป็นปัจจัย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความดำริชอบ ย่อมมีความดำริผิด
เสื่อมไป มีอกุศลบาปธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะความดำริผิดเป็น
ปัจจัยเสื่อมไป และกุศลธรรมเป็นอันมากย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะ
ความดำริชอบเป็นปัจจัย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีวาจาชอบ ย่อมมีวาจาผิดเสื่อมไป...
และกุศลธรรมเป็นอันมากย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะวาจาชอบเป็น
ปัจจัย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีการงานชอบ ย่อมมีการงานเสื่อม
ไป... และกุศลธรรมเป็นอันมากย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะการงาน
ชอบเป็นปัจจัย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีการเลี้ยงชีพชอบ ย่อมมีการเลี้ยง
ชีพผิดเสื่อมไป... และกุศลธรรมเป็นอันมาก ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์
เพราะการเลี้ยงชีพชอบเป็นปัจจัย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความพยายามชอบ ย่อมมีความ
พยายามผิดเสื่อมไป.. และกุศลธรรมเห็นอันมากย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์
เพราะความพยายามชอบเป็นปัจจัย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความระลึกชอบ ย่อมมีความระลึกผิด
เสื่อมไป... และกุศลธรรมเป็นอันมากย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะ
ความระลึกชอบเป็นปัจจัย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความตั้งใจชอบ ย่อมมีความตั้งใจผิด
เสื่อมไป... และกุศลธรรมเป็นอันมากย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะ
ความตั้งใจชอบเป็นปัจจัย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความรู้ชอบ ย่อมมีความรู้ผิดเสื่อมไป
มีอกุศบาปธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะความรู้ผิดเป็นปัจจัยเสื่อมไป
และกุศลธรรมเป็นอันมากย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะความรู้ชอบ
เป็นปัจจัย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความหลุดพ้นชอบ ย่อมมีความ
หลุดพ้นผิดเสื่อมไป มีอกุศลบาปธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะความ
หลุดพ้นผิดเป็นปัจจัยเสื่อมไป และกุศลธรรมเป็นอันมากย่อมถึงความ
เจริญบริบูรณ์ เพราะความหลุดพ้นชอบเป็นปัจจัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เหตุแห่งการเสื่อมไปมี 10 ประการนี้แล.
จบนิชชรวัตถุสูตรที่ 6

อรรถกถานิชชรวัตถุสูตรที่ 6


นิชชรวัตถุสูตรที่ 6

พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า นิชฺชรวตฺถูนิ ได้แก่ เหตุแห่งการเสื่อมไป. บทว่า มิจฺฉา-
ทิฏฺฐิ นิชฺชิณฺณา โหติ
ความว่า มิจฉาทิฏฐิที่ถึงความเสื่อมไป แม้
เพราะวิปัสสนาอย่างต่ำ อันท่านละได้แล้วอย่างนี้. ถามว่า เพราะเหตุไร
ท่านจึงถือเอาอีก. ตอบว่า เพราะมิจฉาทิฏฐินั้น ท่านยังถอนไม่ขาด.
ด้วยว่า มิจฉาทิฏฐิ แม้ยังถอนได้ไม่ขาดด้วยวิปัสสนาก็จริง ถึงอย่างนั้น
มรรคเกิดขึ้น ก็ถอนมิจฉาทิฏฐิได้ขาด คือ ไม่ให้เกิดขึ้นอีก เพราะฉะนั้น
ท่านจึงถือเอาอีก. ในบททุกบทก็พึงทราบตามนัยอย่างนี้.
อนึ่ง ในสูตรนี้ ธรรม 64 ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะ
สัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย คือ ธรรม 64 ได้แก่ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรคจิต
สัทธินทรีย์ย่อมบริบูรณ์ เพราะอรรถว่า น้อมใจไป วิริยินทรีย์บริบูรณ์
เพราะอรรถว่าประคองใจ สตินทรีย์บริบูรณ์ เพราะอรรถว่า เข้าไปตั้ง
ไว้ สมาธินทรีย์บริบูรณ์ เพราะอรรถว่า ไม่ฟุ้งซ่าน ปัญญินทรีย์บริบูรณ์
เพราะอรรถว่า เห็น มนินทรีย์บริบูรณ์ เพราะอรรถว่า รู้แจ้ง โสมนัส-